วันเสาร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2555

วันออกพรรษา

วันออกพรรษา หมายถึง วันที่พ้นจากข้อกำหนดทางพระวินัย ที่ต้องอยู่ประจำที่หรือในวัดแห่งเดียวตลอด ๓ เดือน ในฤดูฝนกล่าวคือ เมื่อพระภิกษุได้อธิฐาน อยู่จำพรรษาในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ (หรือ เดือน ๙ กรณีเข้าพรรษาหลัง) แล้วอยู่ประจำที่หรือวัดนั้นเรื่อยไป จนสิ้นสุดในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ (หรือเดือน ๑๒ ในกรณี เข้าพรรษาหลัง) หลังจากนี้ ก็สามารถจาริกไปค้างแรมที่อื่นได้ วันออกพรรษานี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วันปวารณา หรือวันมหาปวารณา คือวันที่พระสงฆ์ทำปวารณากรรม คือเปิดโอกาสให้เพื่อน พระภิกษุว่ากล่าวตักเตือนกันด้วยเมตตาจิตได้ เมื่อได้เห็นได้ฟังหรือ สงสัยในพฤติกรรมของกันและกัน ซึ่งวันออกพรรษา นับเป็นวันสำคัญของพุทธศาสนาด้วยเหตุผลดังนี้
         
. พระสงฆ์ได้รับพระบรมพุทธานุญาต ให้จาริกไปค้างแรมที่อื่นได้
         
. เมื่อออกพรรษาแล้ว พระสงฆ์จะได้นำความรู้จากหลักธรรม และประสบการณ์ที่ได้รับ ระหว่างพรรษาไปเผยแพร่แก่ประชาชน
         
. ในวันออกพรรษา พระสงฆ์ได้ทำปวารณา เปิดโอกาสให้ เพื่อนภิกษุว่ากล่าวตักเตือน เรื่องความประพฤติของตน เพื่อให้เกิดความบริสุทธิ์ความเคารพนับถือ และความสามัคคีกันระหว่างสมาชิกของสงฆ์
         
. พุทธศาสนิกชนได้นำแบบอย่าง ไปทำปวารณาเปิดโอกาสให้ ผู้อื่นว่ากล่าวตักเตือนตนเอง เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาตน และสร้างสรรค์สังคมต่อไป
สำหรับประวัติความเป็นมาในวันออกพรรษา ได้กล่าว ไว้คือ
         
. ส่วนที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า เมื่อพระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษาอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร กรุงสาวัตถีนั้น มีพระภิกษุกลุ่มหนึ่ง แยกย้ายกันจำพรรษาอยู่ตามอารามรอบๆ นคร พระภิกษุเหล่านั้น เกรงจะเกิดการขัดแย้ง ทะเลาะวิวาทกันจนอยู่ไม่เป็นสุขตลอดพรรษา จึงได้ตั้งกติกาว่าจะไม่พูดจากัน (มูควัตร) เมื่อถึงวันออกพรรษา พระภิกษุเหล่านั้น ก็พากันไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ที่พระเชตวันมหาวิหาร กราบทูลเรื่องทั้งหมดให้ทรงทราบ พระพุทธเจ้า จึงทรงตำหนิว่า อยู่กันเหมือนฝูงปศุสัตว์ แล้วทรงมีพระบรมพุทธานุญาตให้พระภิกษุกระทำการปวารณาต่อกันว่า

         
"อนุชานามิ ภิกขะเว วัสสัง วุตถานัง ภิกขูนัง ตีหิ ฐาเนหิ ปะวาเรตุงทิฎเฐนะ วา สุเตนะ วา ปะริสังกายะ วา..."แปลว่า ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลาย ผู้จำพรรษาแล้ว ปวารณากัน ในสามลักษณะคือด้วยการเห็นก็ดี ด้วยการได้ยินก็ดี ด้วย การสงสัยก็ดี
         
         
. การถือปฏิบัติวันออกพรรษาในประเทศไทย วันออกพรรษานี้ เป็นวันปวารณาของพระสงฆ์โดยตรง ที่จะต้องประชุมกันทำปวารณากรรมแทนอุโบสถกรรม สำหรับพุทธศาสนิกชน ฝ่ายคฤหัสถ์ ก็ถือว่าเป็นวันพระสำคัญ มักนิยมไปทำบุญทำทาน รักษาศีลและฟังธรรมเป็นกรณีพิเศษ นอกจากนี้ ยังมีประเพณีเนื่องด้วยวันออกพรรษาอีกอย่างหนึ่ง เรียกว่า ประเพณีตักบาตรเทโว คำว่า ตักบาตรเทโว มาจากคำเต็มว่า ตักบาตรเทโวโรหณะ คือ การตักบาตรเนื่องในโอกาสที่พระพุทธเจ้า เสด็จลงจากสวรรค์ขั้นดาวดึงส์ ซึ่งคัมภีร์อรรถกถาธรรมบทบันทึกไว้ว่า เมื่อพระพุทธเจ้าแสดง ยมกปฏิหารย์ (ปฏิหาริย์เป็นคู่ ๆ) ที่ต้นมะม่วง ใกล้เมืองสาวัตถีแล้วก็เสด็จขึ้นไป จำพรรษาที่ ๗ บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อเทศนาพระอภิธรรมโปรด พุทธมารดาเป็นเวลา ๓ เดือน ครั้นออกพรรษาแล้ว พระพุทธเจ้าจึง เสด็จลงสู่มนุษย์โลกทางบันไดพาดลงใกล้เมืองสังกัสสะ
         
ในเทศกาลออกพรรษานี้ มีหลักธรรมสำคัญ ที่ควรนำไปปฏิบัติ คือปวารณา ปวารณา ได้แก่ การเปิดโอกาสให้ผู้อื่นว่ากล่าวตักเตือนตนเองได้ การปวารณานี้ อาจแบ่งบุคคลออกเป็น ๒ ฝ่ายคือ
         
. ผู้ว่ากล่าวตักเตือน จะต้องเป็นผู้มีเมตตา ปรารถนาดีต่อผู้ที่ตนว่ากล่าวตักเตือน เรียกว่ามีเมตตา ทางกาย ทางวาจาและทางใจพร้อมมูล
         
 . ผู้ถูกว่ากล่าวตักเตือน ต้องมีใจกว้าง มองเห็นความปรารถนาดี ของผู้ตักเตือน ดีใจมีผู้มาบอกขุมทรัพย์ให้ การปวารณานี้ จึงเป็นคุณธรรมสร้างความสมัครสมานสามัคคี และดำรงความบริสุทธิ์หมดจดไว้ในสังคมพระสงฆ์ การปวารณา แม้จะเป็นสังฆกรรมของสงฆ์ ก็อาจนำมาประยุกต์ใช้กับสังคมชาวบ้านได้ด้วย เช่น การปวารณากันระหว่างสมาชิกในครอบครัวในสถานศึกษา ในสถานที่ทำงาน พนักงานในห้างร้าน บริษัทและหน่วยราชการ เป็นต้น
การจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมในวันออกพรรษา และกิจกรรมเกี่ยวกับครอบครัว
         
. ทำความสะอาดบ้าน ประดับธงชาติและธงธรรมจักร จัดแต่งที่บูชาประจำบ้าน
         
. ศึกษาเอกสาร และสนทนาเกี่ยวกับความสำคัญของวันออกพรรษา รวมทั้งหลักธรรม เรื่อง ปวารณาและแนวทางปฏิบัติในครอบครัว
         
. สมาชิกในครอบครัว ปรึกษา หารือ หาแนวทางในการป้องกันการแก้ปัญหา โดยใช้หลักธรรม คือ ปวารณา
         
. นำครอบครัวไปบำเพ็ญกุศล ทำบุญตักบาตร บริจาคทาน
         
. ปฏิบัติธรรมที่วัด รักษาศีล ไหว้พระสวดมนต์ ฟังธรรม เจริญภาวนา ในกรณีที่เป็นวันหยุด
กิจกรรมเกี่ยวกับสถานศึกษา
         
. ทำความสะอาดบริเวณโรงเรียน ประดับธงชาติและธงธรรมจักร จัดแต่งโต๊ะหมู่บูชา
         
. ครูและนักเรียนร่วมกันศึกษา ถึงความสำคัญของวันออกพรรษา รวมทั้งหลักธรรม เรื่องปวารณา และแนวทางปฏิบัติในสถานศึกษา
         
. ครูให้นักเรียนจัดทำป้ายนิเทศ หรือจัดนิทรรศการ ประกวดเรียงความ ทำสมุดภาพ ตอบปัญหาธรรม บรรยายธรรม อภิปรายธรรม
         
. ครูให้นักเรียนจัดทำรายงาน เกี่ยวกับพฤติกรรมที่ดีกับพฤติกรรมที่ไม่ดี และวางแผนพัฒนาพฤติกรรมของตน โดยมีเป้าหมาย จะพัฒนาพฤติกรรมที่ดีให้มากขึ้น และลดพฤติกรรมไม่ดีให้น้อยลง
         
. ประกาศเกียรติคุณของนักเรียน ที่ประพฤติตัวเป็นแบบอย่างที่ดี
         
. ครูพานักเรียนไปร่วมกิจกรรมกับชุมชนที่วัด บำเพ็ญกุศล ทำบุญตักบาตร บริจาคทาน รักษาศีล ฟังธรรม สนทนาธรรม เจริญภาวนา ในกรณีที่เป็นวันหยุด
กิจกรรมเกี่ยวกับสถานที่ทำงาน           . ทำความสะอาดบริเวณที่ทำงาน ประดับธงชาติและธงธรรมจักร จัดแต่งโต๊ะหมู่บูชา
         
. ประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับความสำคัญของวันออกพรรษา รวมทั้งหลักธรรมเรื่อง ปวารณาและแนวทางปฏิบัติในถานที่ทำงาน
         
. จัดให้มีการบรรยายธรรม และสนทนาธรรม
         
. ร่วมกับบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ปลูกต้นไม้ บริจาคโลหิต
         
. หัวหน้าหน่วยงานให้โอกาสผู้ร่วมงานไปบำเพ็ญกุศลตามประเพณีนิยม ในกรณีที่เป็นวันหยุด
         
. จัดทำป้ายนิเทศ เกี่ยวกับอุดมการณ์ในการทำงาน โดยมีเป้าหมายจะละเว้นการกระทำชั่วในเรื่องใด ๆ

วันปิยมหาราช

พระปิยมหาราช
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม ภาพประกอบทางอินเทอร์เน็ต

          พระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 คือ การประกาศเลิกทาส ทำให้ปวงชนชาวไทยได้เป็นไทมาจวบจนทุกวันนี้

          ในรัชสมัยของพระองค์ สยามประเทศได้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สร้างความวัฒนาให้กับชาติเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น การไฟฟ้า การไปรษณีย์ โทรเลข โทรศัพท์ ฯลฯ ด้วยพระราชกรณียกิจที่ยังความผาสุกให้เกิดแก่ประชาชน ทวยราษฎร์ทั้งปวงจึงน้อมใจแสดงความจงรักภักดี ด้วยการถวายพระนามว่า "พระปิยมหาราช" หรือพระพุทธเจ้าหลวง และกำหนดให้ทุกวันที่ 23 ตุลาคม เป็น วันปิยมหาราช
 ความเป็นมาของ วันปิยมหาราช

รัชกาลที่ 5

          เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ.2453 ได้เกิดเหตุการณ์ที่สร้างความเศร้าโศกให้กับประเทศไทยครั้งใหญ่หลวง เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงประชวรเสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งอัมพรสถานพระราชวังดุสิต เนื่องด้วยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นกษัตริย์ที่เป็นที่เคารพรักของทวยราษฎร์ ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอเนกประการ ทั้งในการปกครองบ้านเมือง และพระราชทานความร่มเย็นเป็นสุขแก่ชนทุกหมู่เหล่า

          ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทางราชการได้ประกาศให้วันที่ 23 ตุลาคม ซึ่งเป็นวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นวันที่ระลึกสำคัญของชาติเรียกว่า "วันปิยมหาราช" และกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการ

          เจ้าหน้าที่กระทรวงมหาดไทยซึ่งต่อมาเป็น "กรุงเทพมหานคร" ร่วมด้วยกระทรวงวัง ซึ่งต่อมาเป็น "สำนักพระราชวัง" ได้จัดตกแต่งพระบรมราชานุสาวรีย์ ตั้งราชวัติฉัตร 5 ชั้น ประดับโคมไฟ ทอดเครื่องราชสักการะที่หน้าพระบรมราชานุสาวรีย์ตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน

          พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศล วันปิยมหาราช ครั้งแรกเกิดขึ้นถัดจากปีที่ได้ถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทานถวายแล้วเสด็จฯ ไปถวายพวงมาลา ทรงจุดธูปเทียนเครื่องราชสักการะที่พระบรมราชานุสาวรีย์

 พระราชประวัติ

รัชกาลที่ 5

          พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ พระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ.2396 เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 4 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระนางเจ้าฟ้ารำเพยภมราภิรมย์ (สมเด็จพระเทพศิรินทรา พระบรมราชินี) เมื่อพระชนมายุได้ 9 พรรษา ทรงได้รับสถาปนาขึ้นเป็น "กรมหมื่นพิฆเนศวรสุรลังกาศ" ต่อมาเมื่อพระชนมายุได้ 13 พรรษา ทรงได้รับสถาปนาขึ้นเป็น "กรมขุนพินิตประชานาถ" บรมราชาภิเษกครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2411 ทรงพระนามว่า "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว"
          เนื่องจากขณะนั้นมีพระชันษาเพียง 16 ปี ยังไม่ทรงบรรลุนิติภาวะ สมเด็จพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) จึงเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน และสถาปนากรมหมื่นบวรวิชัยชาญ พระโอรสองค์ใหญ่ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญพระมหาอุปราช

          ระหว่างที่สมเด็จพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ เป็นผู้สำเร็จราชการอยู่นั้น สมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ก็ทรงใช้เวลาศึกษาเล่าเรียนศิลปวิทยาเป็นอันมาก เช่น โบราณราชประเพณี รัฐประศาสน์ โบราณคดี ภาษาบาลี ภาษาอังกฤษ วิชาปืนไฟ วิชามวยปล้ำ วิชากระบี่กระบอง และวิชาวิศวกรรม

          ในตอนนี้ยังได้เสด็จประพาสสิงคโปร์และชวา 2 ครั้ง เสด็จประพาสอินเดีย 1 ครั้ง การเสด็จประพาสนี้มิใช่เพื่อสำราญพระราชหฤทัย แต่เพื่อทอดพระเนตรแบบแผนการปกครองที่ชาวยุโรปนำมาใช้ปกครองเมืองขึ้นของตน เพื่อจะได้นำมาแก้ไขการปกครองของไทยให้เหมาะสมแก่สมัยยิ่งขึ้น ตลอดจนการแต่งตัว การตัดผม การเข้าเฝ้าในพระราชฐานก็ใช้ยืน และนั่งตามโอกาสสมควร ไม่จำเป็นต้องหมอบคลานเหมือนแต่ก่อน

          เมื่อพระชนมายุบรรลุพระราชนิติภาวะ ได้ทรงผนวชเป็นเวลา 2 สัปดาห์ แล้วจึงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเป็นครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2416 และนับจากนั้นมาก็ทรงพระราชอำนาจเด็ดขาดในการบริหารราชการแผ่นดิน
          ตลอดระยะเวลาที่ทรงครองสิริราชสมบัติ ทรงปกครองทำนุบำรุงพระราชอาณาจักรให้มั่งคั่งสมบูรณ์ ดัวยรัฐสมบัติ พิทักษ์พสกนิกรให้อยู่เย็นเป็นสุข บำบัดภัยอันตรายทั้งภายในภายนอกประเทศ ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจต่างๆ อันก่อให้เกิดคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติ ให้รอดพ้นจากวิกฤตการณ์ และสามารถธำรงเอกราชไว้ตราบจนทุกวันนี้

          พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคตเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ.2453 รวมพระชนมายุได้ 58 พรรษา ครองราชสมบัติมานานถึง 42 ปี

เทสกาลกินเจ


กินเจ 2555

ภาพจาก phuketphotos951 / Shutterstock.com

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก ททท. และ เฟซบุ๊ก Kinjfan

          เมื่อถึงวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 9 (ตามปฏิทินจีน) ของทุกปี เราจะเห็นธงสีเหลือง ๆ มีตัวอักษรจีนประดับอยู่ตามร้านอาหารและสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์บ่งบอกว่า...เริ่มเข้าสู่เทศกาลกินเจแล้ว และสำหรับ "เทศกาลกินเจ ปี 2555" จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 15 - 23 ตุลาคม 2555 แต่บางคนอาจกินเจล่วงหน้า 1 วัน หรือที่เรียกว่า "ล้างท้อง" นั่นเอง

          อย่างไรก็ตาม สำหรับนักเดินทางที่อยากออกไปสัมผัสกับกลิ่นอาย หรือบรรยากาศประเพณีกินเจตามจังหวัดต่าง ๆ นั้น วันนี้กระปุกท่องเที่ยวก็นำเอาสถานที่ที่จัดงานเทศกาล "กินเจ 2555" จากทั่วประเทศไทย มาบอกกัน โดยเริ่มที่...


เทศกาลงานเจ เยาวราช ประจำปี 2555

          เขตสัมพันธวงศ์ จัดงาน "เทศกาลงานเจ เยาวราช ประจำปี 2555" ชวนชาวไทยเชื้อสายจีนร่วมทานเจอย่างถูกประเพณี เพื่อสืบสานตำนานการกินเจอย่างถูกต้องตามหลักประเพณี โดยในปีนี้มีกำหนดจัดงานระหว่างวันที่ 15 - 23 ตุลาคม 2555 และมีขบวนแห่รถบุปผชาติในวันพิธีเปิดงาน นอกจากนี้ ยังมีพิธีคัดเลือก "องค์สมมุติเจ้าแม่กวนอิม" จากสาวพรหมจรรย์อีกด้วย

กินเจ 2555 ภูเก็ต

ประเพณีถือศีลกินผัก จังหวัดภูเก็ต

          จังหวัดภูเก็ต ขอเชิญร่วมงาน "ประเพณีถือศีลกินผัก" (กินเจ) ระหว่างวันที่ 15 - 23 ตุลาคม 2555 ไปอิ่มบุญ เสริมบารมี อยู่เย็นเป็นสุข ในช่วงงานประเพณี นอกจากจะได้ถือศีลกินผัก อิ่มบุญ และชมพิธีกรรมแห่พระ ลุยไฟ ไต่บันไดมีด และพิธีสะเดาะเคราะห์จากทุกศาลเจ้าทั่วเกาะภูเก็ตในแต่ละวันแล้ว ยังเสริมบารมีให้ตัวเองด้วยการทำบุญเขียนชื่ออักษรจีนบนเม็ดข้าวสารศักดิ์สิทธิ์จากศาลเจ้าปุดจ้อ (ศาลเจ้ากวนอิม จังหวัดภูเก็ต) ซึ่งถือว่าเป็นศาลเจ้าศักดิ์สิทธิ์อีกแห่งหนึ่งในจังหวัดภูเก็ต ที่ประชาชนชาวภูเก็ตให้ความเคารพนับถือกันมาก

          ทั้งนี้ ประเพณีการกินผัก หรือที่ชาวภูเก็ตเรียกกันว่า "เจี่ยะฉ่า" นั้น เชื่อกันว่ามีต้นกำเนิดจากบ้านในทู หรือไล่ทู (เขตอำเภอกะทู้ ในปัจจุบัน) เนื่องจากในสมัยก่อนพื้นที่นี้เต็มไปด้วยกิจการเหมืองแร่ จึงทำให้มีชาวจีนอพยพหลั่งไหลมาอยู่อาศัย เกิดเป็นชุมชนชาวจีนขนาดใหญ่ขึ้น ปัจจุบันประเพณีกินผักถือเป็นจุดขายทางด้านการท่องเที่ยวที่สำคัญ และ "อ๊าม"